เชื่อว่าหนึ่งในคำถามยอดฮิต สำหรับผู้ใช้รถยนต์ปัจจุบัน หรือ คนที่กำลังจะเปลี่ยนรถยนต์คันใหม่ ในวันที่กระแสของรถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถ EV ที่มาแรง… อยู่ในขณะนี้หลายคนเริ่มเปรียบเทียบ มองหา “ความประหยัด”
ทั้งความประหยัด “พลังงาน” “เวลา” และ “เงิน” ในประเป๋า จนมี คำพูดที่ได้ยินกับบ่อยคือ เราเอาเงินค่าน้ำมัน มาเป็นการชาร์จไฟฟ้าดีกว่า… แถมยังเอาส่วนต่างไปเป็นค่าผ่อนรถ”
จริงหรือไม่ ถ้าวัดกับแบบปอนด์ต่อปอนด์ เฉพาะ “ราคา” ของค่าพลังงานเป็นตัวชี้วัดนั้น คงไม่ได้ เพราะ ยังมีเงื่อนไขปัจจัยเวลาล้อมอีก มาดูกัน
ปัจจุบัน ราคาน้ำมันเบนซิน เฉลี่ยอยู่ที่ 34-35 บาทต่อลิตร ราคาผันผวนตามราคาน้ำมันโลก แต่ความสะดวกของผู้ใช้งาน คือ สามารถเข้าแวะเติมพลังงานได้ตามสะดวก ใช้ระยะเวลาเพียง 2-5 นาที
ขณะที่หากต้องการชาร์จ รถ EV ที่บ้าน สิ่งที่พึงระลึกไว้เสนอ คือ “ค่าไฟกลางคืนถูกกว่ากลางวัน” หากคำนวนอัตราค่าไฟฟ้าที่แตกต่างตามช่วงเวลาการใช้ หรือ “TOU” (Time of Use Rate) นั้น จะอยู่ที่ประมาณ 5 บาท/หน่วย ราคาเดียวเท่ากัน แต่หากเราขอทำ TOU ก็จะมี 2 เรต คือ ช่วง On Peak ตั้งแต่เวลา 09.00-22.00 น.ราคาประมาณ 5.8 บาท/หน่วย ส่วนในช่วง Off-peak ตั้งแต่เวลา 22.00-09.00 น. อยู่ที่ 2.63 บาท/หน่วย จากไฟฟ้าแรงดันต่ำกว่า 22 กิโลโวลต์ ซึ่งเป็นของไฟบ้านปกติ
หรือหากแวะเติมตามสถานนีชาร์จของผู้ให้บริการรายต่างๆ ก็ มีช่วงเวลา On Peak, Off Peak เช่นเดียวกัน ราคาเริ่มต้นที่ 4.5 – 9 บาทต่อหน่วย
สำหรับเงื่อนไขการชาร์จพลังงานไฟฟ้า คือ ระยะเวลาในการชาร์จค่อนข้างนาน สำหรับ ตู้จ่ายไฟแบบ AC
ส่วน ตู้จ่ายๆแบบ DC จะใช้เวลาขั้นต่ำราวๆ 30 นาทีต่อการชาร์จ
ที่สำคัญ เราควรทำการจองคิว ล็อกตู้ชาร์จไว้ล่วงหน้า ,จำนวนสถานีชาร์จที่ยังไม่แพร่หลาย ฯลฯ ส่วนวิธีการคำนวนว่า รถยนต์ไฟฟ้า 1 คัน เราจะเสียค่าชาร์จไฟต่อการชาร์จ 1 ครั้ง กับระยะทางที่วิ่งได้นั้น ให้เราดูจากสเปกรถ สามารถชาร์จไฟสูงสุดได้เท่าไร แบตเตอรี่มีความจุเท่าใด เช่น รถยนต์ไฟฟ้าชาร์จสูงสุดที่ 7.4 kW แบตเตอรี่จุได้ 60 kW หรือระยะทางขับขี่ประมาณ 350 กิโลเมตร เท่ากับว่าในเวลา 1 ชม. เก็บพลังงานไฟฟ้าได้ 7.4 kw ดังนั้นหากเราต้องการชาร์จไฟ ให้เต็ม 60 kw ก็ต้องใช้เวลาถึง 7-8 ชั่วโมง สำหรับไฟบ้าน แต่ถ้าเราไปชาร์จตู้ที่มีแรงดันไฟสูง (DC) ซึ่งอาจจะใช้เวลา 30 นาที-1 ชั่วโมง หากรถที่เราใช้งานอยู่ 60 kWh ก็เท่ากับค่าไฟ 60 หน่วย
ดังนั้น หากค่าไฟบ้าน อยู่ที่ 4.5 บาทต่อหน่วย ในช่วง Off Peak ก็เท่ากับ การชาร์จไฟนั้น จะอยู่ที่ 4.5×60 = 270 บาท จากนั้น นำระยะทางที่รถวิ่งได้ต่อการชาร์จไฟฟ้า 1 ครั้งมาหาร เช่น รถวิ่งได้ 350 กิโลเมตรต่อการชาร์จไฟ 1 ครั้ง ดังนั้นจะเท่ากับ 270/350= 0.77 บาท ต่อกิโลเมตร หรือถ้า ชาร์จแบต 10% ก็เท่ากับ 10 kWh จะอยู่ที่ 4.5 บาท แต่หากเป็นราคาน้ำมัน เทียบในรถ ขนาด ซิตี้คาร์ ที่ขนาด ถึงบรรจุน้ำมันอยุ่ที่ 40 ลิตร ราคาน้ำมันลิตรละ 32 บาท เท่ากับ 40×32= 1,280 บาท วิ่งได้ ราวๆ 500 กิโลเมตร คำนวนโดยคราวๆ เท่ากับ 1,280/500 = 2.56 ต่อหนึ่งกิโลเมตร
ถึงตรงนี้…อย่างที่บอกว่า ต้นทุน การใช้รถยนต์น้ำมันและรถยนต์ไฟฟ้า ของแต่ละคน นั้น “ต้นทุน” แตกต่างๆกัน หากจะ คำนวนจากอัตราค่า “พลังงาน” เพียวๆ นั้น คงเป็นไปได้ยาก เพราะยังมีปัจจัยแวดล้อม มูลค่าความสูญสิ่งอื่นๆ (Los) ต่างๆ จิปาถะ ดังนั้นเราต้องถามตัวเองว่า สิ่งที่ได้มา กับสิ่งที่ต้องสูญเสียไปคุ้มค่าเพียงพอหรือไม่ ที่สำคัญ พฤติกรรมการใช้งานรถยนต์ และการขับขี่ของเรา เหมาะสมที่จะก้าวข้ามไปสู่พลังงานไฟฟ้าแล้วหรือยังมากกว่า
CR. ภาพจาก mercedes benz Thailand / BMW Thailand